ไวรัสตัวใหม่ “มาร์เบิรค์”มีอาการคล้ายอีโบล่า ทำสถิติตายสูงสุดถึง 88% หลังจากรับเชื้อ

ไวรัสตัวใหม่ที่กำลังมาในตอนนี้ชื่อ มาร์เบิรค์ Marburg เป็นเชื้อก่อโรคร้ายแรงที่ทำให้โรค Marburg เป็นโรคไข้เลือดออกจากไวรัสชนิดรุนแรง ซึ่งตั้งชื่อตามเมืองในเยอรมนี ที่เกิดการระบาดครั้งแรกในปี 1967 Marburg หรือ MVD เป็นเชื้อไวรัสตระกูลเดียวกับเชื้อไวรัสอีโบล่า มีการประกาศพบการระบาดอย่างเป็นทางการเมื่อ54 ปีที่แล้ว โดยการระบาดของเชื้อเกิดจากการที่ไวรัสหลุดออกมาจากการทดลองจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ หรือห้องแลป ซึ่งเป็นการวิจัยลิงเขียวแอฟริกา 3 ตัว ในเมือง Marburg ของประเทศเยอรมนี จึงถูกเรียกชื่อตามเมืองในที่สุด
ไวรัสมีการระบาดหลายครั้งทั่วโลกตั้งแต่นั้นมา โดยมีการวิจัยมากมายที่เน้นโครงสร้างและวิธีการแพร่เชื้อเนื่องจากลักษณะที่ผิดปกติของไวรัส และเป็นโรคจากสัตว์สู่คน โดยการระบาดครั้งแรกของเยอรมันมาจากลิงนำเข้า การแพร่เชื้อจากคนสู่คนสามารถเกิดขึ้นจากการสัมผัสโดยตรงกับของเหลวในร่างกาย เช่น น้ำลาย เหงื่อ อุจจาระ และน้ำนมแม่
องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุใน website ว่า ได้รับการยืนยันจากรัฐบาลกีนี ว่าพบผู้ติดเชื้อไวรัสมาร์เบิร์ก ซึ่งเป็นไวรัสที่อาศัยอยู่ในค้างคาว และสามารถแพร่กระจายสู่คนได้ คล้ายกับไวรัสโควิด19 และมีความเกี่ยวข้องกับเชื้อไวรัสอีโบล่า โดยเจ้าหน้าที่เก็บตัวอย่างเชื้อไวรัสจากผู้ป่วยที่เสียชีวิต เป็นชายคนหนึ่ง อาศัยหมู่บ้านในพื้นที่ห่างไกล ทางตอนใต้ของประเทศ ติดกับชายแดนประเทศเซียร์ ราลีโอน และไลบีเรีย โดยผู้ติดเชื้อเริ่มมีอาการตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคมที่ผ่านมา และเข้ารับการรักษาที่คลินิกชุมชน ก่อนจะเสียชีวิตในวันที่ 2 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยการชันสูตรการเสียชีวิต พบว่าติดเชื้อไวรัส Marburg หลังการเสียชีวิตของชายคนดังกล่าว เจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้เข้าติดตามดูอาการคน 155 คนอย่างใกล้ชิดเนื่องจากเป็นผู้ที่มีความใกล้ชิดผู้ป่วยและสัมผัสเสียงสูง
ดร.แมตชิดิโซ่ โมติ (Dr Matshidiso Moeti) ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก ประจำภูมิภาคแอฟริกา มีการกล่าวไว้ว่า เชื้อไวรัสชนิดนี้มีโอกาสจะแพร่กระจายเป็นวงกว้างได้ และมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ตั้งแต่ 24 ถึง 88 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเรามีความจำเป็นที่จะต้องหยุดการแพร่ระบาด โดยขณะนี้ เจ้าหน้าที่ขององค์การอนามัยโลกได้ร่วมทำงานกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ ในการรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสดังกล่าวอย่างเร่งด่วน ซึ่งกินีเคยมีประสบการณ์การรับมือโรคระบาคอย่างเชื้อไวรัสอีโบล่ามาแล้ว
ดร.โมติ ยังกล่าวชื่นชมเจ้าหน้าที่สาธารณสุขของกินี ด้วยว่า เจ้าหน้าที่สามารถสอบสวนโรคได้อย่างรวดเร็ว พร้อมกับระบุว่า การแพร่ระบาดของไวรัสมาร์เบริก ถือเป็นภัยคุกคามระดับสูงต่อประเทศและภูมิภาค แต่ยังเป็นภัยคุมคามระดับต่ำต่อโลก
การพบผู้ติดเชื้อไวรัส Marburgในกีนี เกิดขึ้นเพียง 2 เดือน หลังจากที่องค์การอนามัยโลกประกาศกีนีรอดพ้นจากแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบล่ารอบที่ 2 ซึ่งมีการแพร่ระบาดตั้งแต่ปีที่ผ่านมา ทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 12 ราย และการพบผู้ติดเชื้อไวรัส Marburg ครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรกของฝั่งประเทศแอฟริกาตะวันตก ซึ่งก่อนหน้านี้พบการแพร่ระบาดเฉพาะในแอฟริกาใต้ แองโกลา เคนย่า ยูกันดา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกมาแล้ว