House panel allows same-sex foreign couples to register civil partnership in Thailand สภาผู้แทนราษฎรอนุญาตให้คู่รัก เพศเดียวกันจดทะเบียนหุ้นส่วนทางแพ่งในประเทศไทย

House panel allows same-sex foreign couples to register civil partnership in Thailand ประเทศ และดินแดน 33 แห่งทั่วโลก ที่ไฟเขียว “สมรสเท่าเทียม” คู่รักเพศเดียวกันสมรสกันได้ หลังกลุ่มหลากหลายทางเพศ ในไทย ต้องเจอกับความผิดหวังอีกครั้ง จากการที่ สภาผู้แทนราษฎรลงมติเมื่อวันพุธที่ผ่านมา (9 ก.พ.) อนุมัติให้รัฐบาลยื้อการพิจารณาร่างแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่จะเปิดทางให้เกิด “สมรสเท่าเทียม” ออกไปอีก 60 วัน เพื่อที่จะได้ไม่กอดข้อขัดแย้งนั่นเอง
House panel allows same-sex foreign couples to register civil partnership in Thailand 33 ประเทศ และดินแดนทั่วโลก รวมถึงไทย ได้เปิดให้ ทุกเพศเท่าเทียมกัน
House panel allows same-sex foreign couples to register civil partnership in Thailand ประเทศเนเธอร์แลนด์ เป็นประเทศแรกของโลก ที่เห็นชอบ ให้เกิดการสมรสของคู่รักเพศเดียวกัน ที่ริเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 และอีก 2 ปีต่อมา ประเทศเบลเยียม ก็เดินตามรอย ผ่านกฎหมายให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถแต่งงานและ จดทะเบีสมรสกันได้ ตั้งแต่ปี 2546 มีหลายประเทศใน ยุโรป ที่เห็นด้วย และยินยอม ให้เพศเดียวกันแต่งงานกันได้ ไม่ว่าจะเป็น นอร์เวย์ สวีเดน เดนมาร์ก ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ สเปน โปรตุเกส ลักเซมเบิร์ก สหราชอาณาจักร และไอร์แลนด์ ปี 2562 ซึ่งทางประเทศ ไต้หวัน ถือเป็นประเทศแรกในโซน เอเชีย ที่มีการอนุญาตให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถแต่งงานและจดทะเบีนกันได้กันได้ นอกจากนี้ยังมี ออสเตรีย อีกประเทศที่เห็นชอบในปีเดียวกันขณะที่ เมื่อปลายปี 2564 ซึ่งทางสภาผู้แทนราษฎรชิลี มีมติ เห็นชอบร่างกฎหมายรับรองการสมรสของคนเพศกำเนิดเดียวกัน หลังจากก่อนหน้านี้ ชิลีก็มีกฎหมายคู่ชีวิตสำหรับคู่รักเพศกำเนิดเดียวกันอยู่แล้วตั้งแต่ปี 2558 แต่คู่ชีวิตก็ยังได้รับสิทธิต่าง ๆ น้อยกว่าคู่สมรส แต่กฎหมายใหม่นี้จะทำให้คู่รักเพศกำเนิดเดียวกันมีสิทธิเท่าเทียมกับคู่รักชายหญิง อย่างเช่น สิทธิในการรับบุตรบุญธรรมล่าสุด คู่รักเพศเดียวกันในสวิตเซอร์แลนด์สามารถจดทะเบียนสมรสได้ตามกฎหมาย ตั้งแต่ 1 กรกฎาคมนี้ หลังผลประชามติมีผู้สนับสนุนการการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันถึง 2 ใน 3 พร้อมอนุญาตให้ผู้จดทะเบียนคู่ชีวิต สามารถเปลี่ยนสถานะเป็นคู่สมรส และยกเลิกการจดทะเบียนคู่ชีวิตทันทีที่กฎหมายบังคับใช้
House panel allows same-sex foreign couples to register civil partnership in Thailand มีอีกหลากหลายประเทศ เริ่มเห็นด้วยใน คู่รักเพศเดียวกัน และประเทศไทยยังมีลุ้น
House panel allows same-sex foreign couples to register civil partnership in Thailand ทางรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์ประกาศเมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนปีที่แล้วว่า จะเริ่มอนุญาตให้คนรักเพศเดียวกันแต่งงานกันได้อย่างถูกกฎหมายตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป หลังจากที่มีการทำประชามติในเรื่องนี้เมื่อเดือน กันยายน 2564 กลุ่มผู้ที่เรียกร้องสนับสนุนการแต่งงานของคนรักเพศเดียวกันคาดว่า จะมีหลายร้อยคนมาใช้สิทธิจดทะเบียนสมรสในปีแรกที่กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ มาเรีย ฟอน แคเนล ประธานร่วมของกลุ่มแมริเอจฟอร์ออล (Marriage for All) กล่าวว่า พวกเขารู้สึกดีกับผลการลงประชามติและกับการที่ผลประชามติในครั้งนั้นกลายเป็นกฎหมาย แคเนลบอกว่าพวกเขาต่อสู้กับประเด็นสมรสเท่าเทียมมากว่า 30 ปีแล้ว และผลการลงประชามติที่ออกมาก็รับเป็น “ช่วงเวลาประวัติศาสตร์”ส่วนสถานการณ์ในไทยนั้น สมรสเท่าเทียม เคยเป็นกระแสมาแล้วในช่วงที่มีการกล่าวถึง พ.ร.บ.คู่ชีวิต ซึ่งเรื่องนี้ทำให้กลุ่มที่มีความรักแบบชาย-ชาย ,หญิง-หญิง รวมถึงประชาชนทั่วไปบางคน เรียกร้องให้มี พ.ร.บ.คู่ชีวิต เกิดขึ้น โดยหยิบยกสิทธิและความเท่าเทียมของมนุษย์ขึ้นมา แต่เรื่องราวของ สมรสเท่าเทียมในไทย ก็ยังต้องร้องเพลงรอกันต่อไป เนื่องจากล่าสุด เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา สภาผู้แทนราษฎร มีมติให้เลื่อนการแก้ไข ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ฉบับที่ พ.ศ. … ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความเท่าเทียม และความหลากหลายทางเพศ ออกไปอีก 60 วัน
House panel allows same-sex foreign couples to register civil partnership in Thailand ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต หลักการคือเพื่อให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
House panel allows same-sex foreign couples to register civil partnership in Thailand ทั้งนี้การ ร่างพ.ร.บ.คู่ชีวิต ที่มีหลักการ คือเพื่อให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ หรือ คู่รักเพศเดียวกันนั้นได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นธรรมเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบัติและให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี และเพื่อป้องกันการดูถูก หรือดูหมิ่น จากเหล่าบุคคลที่ไม่ชื่นชอบ
และสำหรับคู้รัก หรือคู่ชีวิต ที่เรียกได้ว่าเป็นสาระสำคัญ ซึ่งทางเว็บไซต์ของเรานั้น ได้ยกตัวอย่างในการอธิบายมาให้ 9 ข้อดังนี้
1. “คู่ชีวิต” หมายความว่า บุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิด และได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตาม พ.ร.บ. นี้เท่านั้น
2. กำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจ พิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ. นี้เท่านั้น
3. กำหนดให้การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำได้ก็ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายให้การยินยอม มีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ และทั้งสองฝ่ายมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย
4. ให้ในบางกรณีที่ผู้เยาว์จะต้องจดทะเบียนคู่ชีวิต ต้องได้รับความยินยอมของบิดา มารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือ ศาล รวมทั้งกำหนดให้ผู้เยาว์ย่อมบรรลุ นิติภาวะเมื่อจดทะเบียนคู่ชีวิต หรือก็คือ ต้องเต็มใจ และบรรลุนิติภาวะเท่านั้น
5. กำหนดให้คู่ชีวิตมีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา (มาตรา 3 และ 5 (2) และมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกับสามีหรือภริยา (มาตรา 29 วรรคหนึ่ง) ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
6. กำหนดบทบัญญัติเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างคู่ชีวิต โดยแบ่งเป็นสินส่วนตัว และทรัพย์สินร่วมกัน
7. คู่ชีวิตสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ รวมทั้งคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งจะจดทะเบียน รับผู้เยาว์ซึ่งเป็นบุตรบุญธรรมของคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมของตน ด้วยก็ได้
8. เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่ เช่นเดียวกับคู่สมรสตามบทบัญญัติใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก
9. สามารถให้นำ บทบัญญัติที่อยู่ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยคู่สมรส (มาตรา1606 1652 1563) ครอบครัว และบุตรบุญธรรม มาใช้บังคับแก่คู่ชีวิตด้วยโดยอนุโลม
House panel allows same-sex foreign couples to register civil partnership in Thailand 9 เหตุผล ทำไมต้องแก้ ประมวลแพ่ง เพื่อสมรสเท่าเทียม
House panel allows same-sex foreign couples to register civil partnership in Thailand ท่ามกลางกระแสที่ว่า สมรสเท่าเทียม ที่ผู้คนในโลกออนไลน์กำลังผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมไทย ที่เรียกได้ว่า สามารถทำให้บุคคลที่เป็นเพศเดียวกัน สามารถสมรสกันได้แบบเปิดเผย ไม่มีการดูถูก เพราะสังคมในปัจจุบัน เป็นโลกที่เปิดกว้าง ทันสมัย ไม่มีความคิดในการเหยียดเพศ ซึ่งเราจะมาดูกันว่ามีเหตุผลอะไรกันบ้างที่ทุกท่านควรทราบ ซึ่งมี 9 เรื่องที่เราต้องทำความเข้าใจในการเรียกร้องในก้าวต่อไปดังนี้
1. เนื่องจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย ตามมาตรา 1448 บัญญัติให้สิทธิการสมรสเฉพาะเพศชายกับเพศหญิง ทำให้คู่รักหลากเพศ เช่น หญิงรักหญิง ชายรักชาย บุคคลรักได้ทั้งสองเพศ
2. การรับรองสิทธิการใช้ชีวิตคู่ตามร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต ในฐานะ คู่ชีวิต ไม่ปรากฏในประมวลกฎหมาย พระราชบัญญัติ หรือระเบียบของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนใดๆ มาก่อน ดังนั้นจำเป็นต้องแก้ไขกฎหมายอื่นทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง
3. การออก พ.ร.บ. คู่ชีวิตแยกออกจาก ปพพ. ทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการตีตรา การเลือกปฏิบัติ และการใช้ดุลยพินิจในการจำกัดสิทธิ
4. การจัดทำร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิต แทนที่จะไปปรับแก้ ปพพ. เพื่อขยายสิทธิการสมรสให้เท่าเทียม
5. ร่าง พ.ร.บ. คู่ชีวิตที่ผ่านมามีความซับซ้อนในการบังคับใช้กฎหมาย เช่น การตรวจสอบว่าคู่ชีวิตหรือคู่สมรสเคยจดทะเบียนแบบใดมาก่อน
6. การเป็น ‘คู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย (Lawful Spouses)’ เป็นคำที่เป็นสากลและสามารถกล่าวอ้างได้ทั่วโลก
7. หากประเทศไทยมีกฎหมายสมรสเท่าเทียมในรูปแบบของ ปพพ. คู่สมรส LGBTI ที่เป็นชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย เช่น นักการทูต เจ้าหน้าที่องค์กรระหว่างประเทศ ก็จะได้รับการคุ้มครองและมีศักดิ์ศรีตามที่เคยได้รับในประเทศต้นทางที่มีกฎหมายให้ความเสมอภาคในการสมรสเช่นเดียวกัน
8. การขยายการสมรสตาม ปพพ. ไปยังคู่ LGBTQ ช่วยแก้ไขปัญหาการไม่ได้รับรองสิทธิการใช้ชีวิตคู่อย่างเบ็ดเสร็จ ทำให้คู่รัก LGBTQ ได้รับสิทธิหน้าที่ที่คู่สมรสชายหญิงทั่วไปได้รับ เช่น สิทธิในการปกครองบุตรบุญธรรมร่วมกัน สิทธิในการดำเนินการตั้งครรภ์แทนโดยอาศัยเทคโนโลยี 9. ประเทศไทยให้คำปฏิญญาโดยสมัครใจกับกระบวนการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (UPR) ในตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 ว่าจะมีการทบทวนเงื่อนไขการสมรสตาม ปพพ. ที่จำกัดสิทธิการสมรสสำหรับบุคคลบางประเภท ซึ่งตาม ปพพ. ปัจจุบัน LGBTQ ถูกจำกัดสิทธิการสมรส ดังนั้นหากสามารถแก้ไข ปพพ. สำเร็จ ประเทศไทยย่อมจะได้รับการยอมรับโดยนานาอารยประเทศ และถือเป็นการปฏิบัติตามคำสัญญา และพันธกรณีระหว่างประเทศที่ประเทศไทยลงนามรับรองไว้ด้วย